บช.น.ประกาศราคาซ่อมรถจีโน่ 5 คัน 47 ล้านบาท หลังเสียหายจากการชุมนุม โดยพิจารณาผู้ที่มีคุณสมบัติถูกต้องตามที่ราชการกำหนดและผ่านเกณฑ์การพิจารณา วันที่ 5 ต.ค. 64 เว็บไซต์ กรุงเทพธุรกิจ รายงานข้อมูลจาก กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) ที่ได้ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา จ้างซ่อมแซมรถฉีดน้ำแรงดันสูงควบคุมฝูงชน (จีโน่) ซึ่งชำรุดเสียหายจากกรณีการชุมนุมสาธารณะ จำนวน 5 คัน โดยวิธีการคัดเลือก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
ย้อนไปเมื่อวันที่ 18 พ.ย.2563 พ.ต.ท.ศราวุธ อรุณฉาย รองผู้กำกับการควบคุมฝูงชน 1 แถลงว่า
จากการสำรวจรถยนต์ของราชการที่เสียหายจากการชุมนุมทางการเมืองที่บริเวณแยกเกียกกาย รัฐสภา เมื่อวันที่ 17 พ.ย.2563 พบว่ามีรถฉีดน้ำแรงดันสูงที่ใช้ควบคุมฝูงชน ราคาเฉลี่ยคันละ 30 ล้านบาท เสียหายรวม 5 คัน เป็นรถที่เช่าซื้อจากประเทศเกาหลี หรือ รถจีโน่ จำนวน 3 คัน และรถที่เช่าซื้อจากประเทศจีน หรือ รถจันจิน จำนวน 2 คัน
ทั้งนี้ สำหรับประกาศดังกล่าวมีใจความว่า “บช.น.ได้พิจารณาผู้ที่มีคุณสมบัติถูกต้องตามที่ราชการกำหนด และผ่านเกณฑ์การพิจารณาในการเสนอราคา คือ บริษัท เค ทรี คอปอเรชั่น จำกัด โดยเสนอราคา 47,080,000 บาท (สี่สิบเจ็ดล้านแปดหมื่นบาทถ้วน) รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีอื่นๆ ค่าขนส่ง ค่าจดทะเบียน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ทั้งปวง โดยไม่เกินวงเิงที่กำหนดไว้และเป็นประโยชน์แก่ทางราชการ ดังนั้น บริษัท เค ทรี คอร์ปอเรชั่น จำกัด จึงเป็นผู้ชนะการเสนอราคาครั้งนี้”
สภานักศึกษา ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ จัดนิทรรศการรำลึก ผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ 6 ตุลา 19
วันนี้ 6 ตุลาคม 2564 ครบรอบ 45 ปี เหตุการณ์ 6 ตุลา 19 การเข้าล้อมปราบนักศึกษาและประชาชน ของตำรวจและกองกำลังกึ่งทหาร ฝ่ายขวา ในและหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และท้องสนามหลวง จนเกิดเป็นภาพคนเอาเก้าอี้ฟาดศพใต้ต้นมะขาม พร้อมไทยมุงที่หัวเราะร่า เผยแพร่ไปทั่วโลก
ด้าน สภานักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ได้โพสต์เฟซบุ๊ก รำลึกนึกถึงอุดมการณ์และความกล้าหาญของวีรชนและผู้สูญเสียในเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 โดยติดภาพผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ 6 ตุลา หลายจุดในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถานที่นองเลือด นอกจากนี้ สภานักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ได้เผยรายชื่อผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนั้น เพื่อให้คนรุ่นหลังไม่ลืมเลือนพวกเขา
ไม่ลืม 6 ตุลา 19 คือวันอะไร บาดแผลประวัติศาสตร์ ล้อมปราบนศ.ในธรรมศาสตร์
วันนี้ 6 ตุลาคม 2564 ครบรอบ 45 ปี เหตุการณ์บาดแผลครั้งใหญ่ในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยอย่างเหตุการณ์ “6 ตุลา 2519” วันล้อมปราบนักศึกษาและประชาชนฝ่ายซ้าย ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และหน้าสนามหลวง เชื่อกันว่ามีผู้เสียชีวิตกว่า 100 ราย แต่สถิติจากทางการระบุว่า มีผู้เสียชีวิตเพียง 45 ราย ลักษณะการเสียชีวิตส่วนใหญ่มาจากถูกยิง ถูกทุบตีจนตาย
เหตุการณ์ 6ตุลา เป็นหน้าประวัติศาสตร์อันพรั่นพรึงที่มีคนรับรู้ไปทั่วโลก จากภาพถ่าย ฝูงชนยืนยิ้มร่าชอบใจ ดูชายใช้เก้าอี้พับฟาดศพที่ถูกแขวนคอใต้ต้นมะขามบริเวณท้องสนามหลวง ภาพดังกล่าวได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ปี 2520
นานาชาติเรียกเหตุการณ์นี้ว่า Thammasat massacre หรือ การสังหารหมู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อันถือเป็นจุดจบยุคเบ่งบานทางประชาธิปไตยในไทยซึ่งมีอายุเพียง 3 ปี นับแต่ 14 ตุลา 2516 หลังจากนั้น มีการตั้งรัฐบาลใหม่ที่มีธานินทร์ กรัยวิเชียรเป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลมีความคิดขวาจัดและเกิดการกวาดล้างฝ่ายซ้ายอย่างรุนแรงทำให้บางส่วนหนีไปเข้ากับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยทำให้การก่อการกำเริบรุนแรงยิ่งขึ้น ก่อนที่ พลเอกเปรม ติณศูลานนท์ จะใช้วิธีการประณีประณอม เกิดเป็น “คำสั่ง 66/23” เปลี่ยนผู้ฝักใฝ่คอมมิวนิสต์ ให้เป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติ อันนำไปสู่จุดสิ้นสุดความขัดแย้งของฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวา
ชนวนเหตุของการเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลา คือ นักศึกษาและฝ่ายซ้ายชุมนุมประท้วงขับไล่ จอมพล ถนอม กิตติขจร อดีตนายกเผด็จการทหาร ที่เดินทางกลับประเทศ และบวชเป็นภิกษุที่วัดบวรนิเวศวิหาร แต่จุดระเบิดของเหตุการณ์คือ กิจกรรมแสดงละครล้อการเมืองที่ทำท่าแขวนคอ จากเหตุฆ่าคนงานฝ่ายซ้ายที่จังหวัดนครปฐม วันที่ 5 ตุลาคม มีการตีพิมพ์ข่าวการแสดงดังกล่าวลงดาวสยาม และมีการปลุมระดมโดยวิทยุยานเกราะ ให้ปราบนักศึกษา และอีกกลุ่มฝ่ายขวาสำคัญที่จัดตั้งในช่วงนั้นคือ กลุ่มนวพล กระทิงแดง ก็มีส่วนร่วมให้เหตุการณ์โหดเหี้ยมนี้ด้วย
6 ตุลา ไม่เคยมีรายงานว่าผู้ก่อเหตุได้รับโทษแม้แต่คนเดียว และเนื้อหาในบทเรียนก็แทบไม่พูดถึงเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 เลย
วันนี้ 5 ต.ค. 2564 ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีย้ำ ยังไม่มีการปรับคณะรัฐมนตรี ยังคงทำงานร่วมกันตามปกติ ขอบคุณคณะรัฐมนตรีที่ได้ร่วมทำงานกันมากว่า 2 ปี 3 เดือน
นายกยังย้ำอีกว่า ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง รัฐบาลยังทำงานร่วมกัน เพื่อแก้ปัญหา โควิด น้ำท่วม ความยากจน ในส่วนของกระทรวงเกษตรฯ นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ไปทำ Sandbox ปศุสัตว์ กำหนดพื้นที่ กลุ่มคน สมาชิกนำร่อง เพื่อสร้างรายได้เพิ่ม รัฐบาลจะพิจารณาจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องต่อไป
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป