คลายปมสงสัย ‘หวยทิพย์’ คืออะไร ?

คลายปมสงสัย ‘หวยทิพย์’ คืออะไร ?

ไขข้อข้องใจ หวยทิพย์ คืออะไร เกี่ยวกับอะไรกับลอตเตอรี่ รางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาลหรือไม่ หวย หรือลอตเตอรี่ เครื่องมือชั้นดีในการรวยทางลัด ซึ่งจะมีให้เราได้ลุ้นทุกวันที่ 1 และ 16 ของทุกเดือน บางคนก็หวังจะได้รางวัลก้อนโตเปลี่ยนชีวิต บ้างก็หวังเพียงกำไลเล็ก ๆ น้อย ๆ จากการซื้อหวย และในปัจจุบัน การซื้อหวยนั้นก็เปิดกว้าง มีให้เราได้เลือกซื้อหลายรูปแบบทั้งแแบบซื้อตามแผง และแบบออนไลน์ ซึ่งในช่วงนี้หลังหวยออก มีหนึ่งคำที่มีคนสงสัย ค้นหาเยอะคือ หวยทิพย์ วันนี้ Thaiger จะพามารู้จักว่าหวยทิพย์คืออะไร

หวยทิพย์ คืออะไร ?

หวยทิพย์ เป็นคำนิยามของการปลอมแปลงหวย หรือการซื้อหวยแบบไม่มีตัวเลข มาจากคำว่า ทิพย์ = ที่ในภาษาปัจจุบันแปลว่า อะไรก็ตามที่ไม่มีอยู่จริง เมื่อรวมกับคำว่าหวย จึงแปลได้ว่า เป็นหวยที่ไม่มีอยู่จริง แม้เราจะซื้อเลข จองเลข จ่ายเงินเป็นที่เรียบร้อย แต่เรากลับไปได้อะไรกลับมาเลยนั่นเอง

อธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ คือ คนที่ขายหวยทิพย์ ผู้ค้าสลากบางเจ้าจะขายสลาก ลอตเตอรี่ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น เว็บไซต์ หรือโซเชียลมีเดีย ให้คนเลือกซื้อลอตเตอรี่จากที่มีการแสกนขึ้นโชว์เป็นรูป เมื่อเลือกซื้อ ลอตเตอรี่จะเก็บอยู่ในกระเป๋าอิเล็กทรอนิกส์ แต่เราไม่สามารถมั่นใจได้ว่า เจ้าไหนจะมีใบลอตเตอรี่จริงให้เราหรือไม่จนกว่าผู้ซื้อจะเรียกขอสลากฉบับจริง ช่องโหว่ตรงนี้ จะทำให้ผู้ขายบางคนเลือกขายหวยทิพย์ เกิดการเวียนลอตเตอรี่ขายซ้ำ ๆ กับผู้ซื้อหลายรายได้ จากเดิมที่ปกติขายสลาก จะซื้อ 1 ใบ ต่อ 1 คนเท่านั้น เป็นต้น

ดังนั้นแล้วในปี 2565 นี้ ใครที่กำลังจะหวังเสี่ยงโชค ต้องเช็กดูให้ดีก่อนซื้อว่าหวยที่เราได้มานั้นเป็น “หวยจริง” หรือ “หวยทิพย์” กันแน่ เพราะไม่แน่ เลขที่คุณเลือกอาจจะเป็นเงินก้อนโตในช่วงวันที่ 1 และ 16 ของเดือนก็เป็นได้นะ

ครม. ได้ทำการอนุมัติเพิ่มเติมงบประมาณ โครงการพัฒนาคุณภาพข้าว ปี 64/65 อีกเป็นจำนวน 5.94 ร้อยล้านบาท โดยเป็นงบคงเหลือจากโครงการประกันรายได้ข้าว

โครงการพัฒนาคุณภาพข้าว ปี 64/65 – (17 พ.ค. 2565) นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2565 ว่า ครม.อนุมัติกรอบวงเงินโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2564/65 เพิ่มเติม 594.64 ล้านบาท รวมวงเงินโครงการทั้งสิ้น 55,567.36 ล้านบาท ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ

ซึ่งโครงการนี้เป็นการจ่ายเงินช่วยเหลือให้เกษตรกรในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากภาระต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นและจูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษาข้าวให้มีคุณภาพดี

นอกจากนี้ ครม.เห็นชอบขยายระยะเวลาโครงการออกไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2565 จะเดิมที่สิ้นสุด 31 พฤษภาคม 2565 และขยายระยะเวลาการจ่ายเงินออกไปจนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2565 จากเดิมที่สิ้นสุด 30 เมษายน 2565

ครม. ไฟเขียว ร่างแผนพัฒนาประชากร ปี 2565-2580

คณะรัฐมนตรี ได้มีการเห็นชอบใน ร่างแผนพัฒนาประชากร เพื่อการพัฒนาประเทศระยะยาว ปี 2565-2580 เดินหน้า 6 ยุทธศาสตร์รองรับอนาคต วันที่ 17 พ.ค. 2565 น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ ร่างแผนพัฒนาประชากร เพื่อการพัฒนาประเทศระยะยาว ปี 2565-2580 ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป

โดยจะแบ่งลำดับความสำคัญในการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ

ระยะเร่งด่วน เน้นการจัดการกับปัญหาที่เป็นผลพวงจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 มุ่งให้เด็กเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ เยียวยาครอบครัวที่เปราะบางและผู้ว่างงาน

ระยะยาว มุ่งเน้นการสร้างครอบครัวคุณภาพ ซึ่งจะช่วยพัฒนาประชากรรุ่นถัดไปให้มีคุณภาพและการเสริมความแข็งแกร่งของระบบการดูแลคนรุ่นพ่อแม่เมื่อเข้าสู่การเป็นผู้สูงอายุ รวมทั้งพัฒนาระบบการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่มีคุณภาพสูง เพื่อให้สามารถสร้างรายได้อย่างมั่นคงต่อเนื่อง ตามแนวคิด “ชุมชนน่าอยู่ สุขภาวะดี มีงานทำ”

สำหรับภาพอนาคตประชากรไทยระยะยาวสรุปได้ดังนี้คือ ประชากรรวมจะยังคงเพิ่มขึ้นและจะเพิ่มขึ้นไปจนถึงปี 2571 ที่มีจำนวนสูงสุดที่ 67.19 ล้านคน จากนั้นตั้งแต่ปี 2572 เป็นต้นไป จำนวนประชากรรวมจะลดลง และในปี 2580 วัยเด็กจะมีสัดส่วนลดลงเหลือร้อยละ 14.3 แต่ผู้สูงอายุกลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.85 และในอนาคตจะเกิดการขาดแคลนแรงงาน เนื่องจากโครงสร้างประชากรวัยแรงงานจะลดลงกว่า 3 ล้านคนในทุก 10 ปี ในขณะที่ความต้องการแรงงานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 37.55 ล้านคนในปี 2560 เพิ่มเป็น 44.71 ล้านคนในปี 2580 ทางออกหนึ่งคือ การใช้ระบบอัตโนมัติทดแทนแรงงาน นอกจากนี้สัดส่วนผู้สูงอายุหญิงเพิ่มขึ้น เนื่องจากเพศหญิงมีอายุยืนกว่าเพศชาย และผู้สูงอายุจำนวนมากยังมีระดับการศึกษาต่ำ ขณะที่อัตราสูงวัยในแต่ละจังหวัดไม่เท่ากัน จึงจำเป็นต้องมีการวางแผนระดับพื้นที่มากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ สศช. ยังระบุด้วยว่า การเพิ่มขึ้นของประชากรเจเนอเรชั่น Alpha ซึ่งเกิดในช่วงปี 2553 เป็นต้นไป ซึ่งประชากรกลุ่มนี้ใช้ชีวิตตามความต้องการของตัวเอง เนื่องจากมีพลังความรู้ความสามารถที่มาก ขณะเดียวกันก็มีความสนใจที่อยากเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างสรรค์ให้โลกนี้ดีขึ้น แต่การอยู่กับเทคโนโลยีมากเกินไปอาจทำให้คนกลุ่มนี้ขาดปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อมนุษย์คนอื่นเท่าที่ควร ทำให้มีความเข้าใจระหว่างกันน้อยลง ไม่เคารพซึ่งกันและกัน จึงจะเป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่ต้องหาแนวทางตั้งรับอย่างเหมาะสม

Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป